งานกินเจ จ.ตรัง

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 9 ดูทีวีเรื่องการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน

กิจกรรมที่ 9

ให้นักศึกษา ดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์สำหรับเลือกดูคนละหนึ่งเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  ให้สรุปเป็นประเด็นสำคัญ ที่นักศึกษาเห็นว่าสำหรับการจัดการเรียนการสอน และหากนักศึกษาไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี  นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร  เขียนอธิบายขยายความลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 9 (โทรทัศน์สำหรับครูอยู่ในแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู เลือกพยายามอย่าให้ซ้ำกัน หรือซ้ำกันแต่ให้มุมมองที่แตกต่างกัน)
สนทนาเรื่องประวัติศาสตร์แบบครูมืออาชีพ
 กับ ดร. อ่องจิต เมธยะประภาส
               ประเด็นสำคัญ ในบทความเรื่องนี้ก็ คือ จะเน้นในผู้เรียนเป็นสำคัญตัวนักเรียนเป็นหลักการเรียนนั้นไม่ใช่ว่าจะแค่เรียน ๆ ไปแค่ให้รู้แต่จะต้องเรียนแล้วต้องรู้คุณค่าของสิ่งที่เรียน สามารถที่จะวิเคราะห์ต่อยอดความคิดให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่เรียนไปเพื่อให้รู้รากเหง้าของตนเองเกิดความหวงแหนรักชาติ มีความผูกพันและจพไม่คิดทำร้ายชาติสามารถที่จะนำประสบการณ์จากอดีตมาเป็นแบบอย่างในปัจจุบัน  สังคมขอเราเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมรับวัฒนธรรมจากที่อื่นมาแต่เราจะต้องไม่ลืมวัฒนธรรมของตนเอง ในสังคมปัจจุบันการมีสื่อที่ทันสมัยในหลายๆด้านจะต้องจักการจัดการข้อมูลข่าวสาร จะเชื่อหรือไม่เชื่อจะต้องมีส่วนร่วมกันระหว่าครูกับนักเรียนร่วมกัน
                การพัฒนาครูมืออาชีพ การจะนำนักเรียนไปสู่การเรียนรู้ครูจะมีการทำอย่างไร มีการอบรมครูที่เป็นโครงการพัฒนาครู 4 ภูมิภาคเช่น การแบ่งครูออกเป็นกลุ่มให้เลือกสถานที่ที่สนใจ
1.จะไปสืบอะไร   2.ที่มาของประวัติ    3.การแบ่งกลุ่มกันยังไง 
4.การนำเสนออย่างไร   5.ประโยชน์  มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ถ้าในปัจจุบันจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร อดีตเป็นบทเรียน อนาคตจะได้ไม่เสียหาย  ครูสามารถจะบูรณาการรายวิชาอื่นๆเข้ากันได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นการต่อยอดความคิด
นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร 
              ครูที่ดีจะต้องมีใจที่เปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ต้องเริ่มจากการรู้จักพัฒนาตัวเองก่อน พัฒนาตนเองในทุกด้านให้มีความพร้อมเข้าใจ ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน มีการพัฒนาตนอยู่เสมอ  จะต้องเน้นตัวนักเรียนเป็นสำคัญพร้อมจะเปิดโอกาศเสนอแนะในสิ่งที่ขาดเป็นการต่อยอดความคิดให้แก่เด็ก มีการวางแผนที่ดี
             ทำให้เกิดตัวนักศึกษาได้คือ
              1.การพัฒนาตนเองให้ทีความพร้อมในทุกๆด้านก่อนที่จะออกสังเกตกาเรียนการสอนก็ต้องวางแผนขั้นตอนลำดับการต่างๆให้ดี และปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
              2.เปิดโอกาศให้ตนเองก่อนคือต้องกล้าทำ กล้าคิด
              3.แสดงความคิดเห็นที่เหมาะสม
              4.การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการสังเกตการเรียนการสอนจะเน้นผู้เรียนเป็นหลัก

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 8 วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)

เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)
ให้นักศึกษา  สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
                      แนวทางพัฒนาองค์การ
                      กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้

โดยให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย    
   เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)          
           ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
          ศิริพงษ์ (2547) ได้กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรมและสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในองค์การ หรือถ้าจำเพาะเจาะจง หมายถึง ปรัชญา อุดมการณ์ ความรู้สึก คติฐาน (assumption) ความคาดหวัง เจตคติ บรรทัดฐาน (norms) และค่านิยม (value) วัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่า โครงสร้างขององค์การ แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง องค์การได้รับพลังมาจากสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร บุคคล และวัสดุอุปกรณ์ พลังดังกล่าวจะเชื่อมโยงมาเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์การ และทำให้สมาชิกในองค์การประสบผลตามที่ต้องการ ส่วนกระบวนการบริหาร เช่น แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การสื่อสาร การเปลี่ยนแปลง และโครงสร้างขององค์การ ได้แก่ คำอธิบายงาน ระบบคัดเลือก ระบบประเมินผล ระบบควบคุม และระบบการให้รางวัล มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์การและอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การด้วย ระบบสังคมจะให้ผลย้อนกลับเพื่อตรวจสอบวัฒนธรรมปัจจุบันว่าควรอยู่หรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมย่อย (subculture) ในองค์การขนาดใหญ่และซับซ้อนไม่อาจจะมีส่วนต่าง ๆ คล้ายกันได้ เป็นต้น แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การ
    วัฒนธรรมมิใช่เป็นเพียงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมโดยทั่วไปเท่านั้น แต่ยังเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานต่างๆ ด้วย สังคมอาศัยวัฒนธรรมเพื่อช่วยในการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาพื้นฐานบางประการของกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันเพื่อความอยู่รอดของสมาชิก เช่น สังคมอาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองและกระบวนการยุติธรรมมาช่วยแก้ปัญหาการเมืองและความขัดแย้งในสังคม หรือในเรื่องปากท้องของประชาชนอันเป็นปัญหาเศรษฐกิจสังคมก็อาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาช่วยขจัดปัดเป่าปัญหาให้ทุเลาลง เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของสังคม วัฒนธรรม หรือ วัฒนธรรมในหน่วยงาน ก็ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของสังคม เช่น วัฒนธรรมองค์การในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้รางวัล (การขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง) และการลงโทษ (การภาคทัณฑ์ การไล่ออก) ช่วยสื่อให้สมาชิกของหน่วยงานทราบถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติและการทำงานที่หน่วยงานคาดหวัง ถ้าสมาชิกประพฤติปฏิบัติตามก็ช่วยให้ปัญหาบางประการ เช่น (การลาออก) ทุเลาเบาลงและงานจะดำเนินไปอย่างมีระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกันมากขึ้น ดังนั้นเมื่อวัฒนธรรมองค์การมีบทบาทภายในหน่วยงานหลายประการ การศึกษาวัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเรื่องสำคัญและน่าสนใจควบคู่กันไป
         กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
     กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ
     1. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ    การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง      2. การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ 
                  แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
   เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก   กล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ

      อ้างอิง  http://www.expert2you.com/view_question2.php?q_id=1111
                   

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 7 การจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ ให้นักศึกษาเปิดไฟล์ข้อมูลและสรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร และนักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร อ่านจากบทความนี้และนำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ

สรุปการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพเป็นอย่างไร
        ปัญหาของนักศึกษาครูที่ออกไปฝึกสอนออกไปฝึกประสบการณ์อย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในหลายโรงเรียน คือ การควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยและตั้งใจเรียน โดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับแนวการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ ได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นใจ หรือมีใจจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ มิใช่เพียง ทำไปให้เสร็จภารกิจเท่านั้น ดังนั้นการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น กิจกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่าง “active” คือช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมีความกระตือรือร้นตื่นตัว มีความจดจ่อ ผูกพันกับสิ่งที่ทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูที่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงได้รับการยอมรับว่าเป็น ครูมืออาชีพ
 ครูมืออาชีพจึงเป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้นเรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญและสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              การจัดการชั้นเรียนหมายถึง การจัดสภาพของห้องเรียน รวมถึงสภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนเสามารถเรียนรุ้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 
             ความสำคัญของการจัดการชั้นเรียน  เป็นการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนเพื่อกระตุ้นส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้รวมถึงการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุตามเป้าหมายของการศึกษา   
นักศึกษาจะมีวิธีการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพได้อย่างไร 
         1.การชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้จึงเป็นการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนที่น่าสนใจและชักจูงใจให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน                                                                                                                                                                                                                                          2.การจัดการชั้นเรียนด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพเป็นการดำเนินการต่างๆเพื่อสร้างบรรยากาศและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมการเรียน ตลอดจนเป็นการป้องกันปัญหาด้านพฤติกรรมก่อนที่จะเกิดปัญหา เช่น การจัดที่นั่งของครูและนักเรียน  การจัดตกแต่งห้องเรียน เป็นต้น 
        3. การจัดการชั้นเรียนทางด้านจิตวิทยาหมายถึงการจัดการเกี่ยวกับความรู้สึกเจตคติ พฤติกรรมของนักเรียนโดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมระเบียบวินัยในการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาได้อย่างสูงสุด  และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณธรรมจริยธรรม เช่น หลักประชาธิปไตย หลักความยุติธรรม  หลักพรหมวิหาร4  หลักความใกล้ชิด เป็นต้น
นำแนวคิดมาใช้ในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
เราสามารถที่จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อที่จะเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเรา ได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในห้องเรียน หรือนอกห้องเรียนและบรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและเราก็สามารถนำการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพไปใช้สอนกับนักเรียนหรือนักศึกษาและใช้ในชีวิตประจำวันได้

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 6สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร

ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้  สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร
       รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์*  สารานุกรมวิชาชีพครู  เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษา หน้า ๓๑๑–๓๑๗
     ทุกคนต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งมาตรฐานด้านความรู้ก็ดี มาตรฐานด้านประสบการณ์และทักษะวิชาชีพก็ตาม จะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพ สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนารวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำ ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบากสำหรับความหมายของคำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา มีความหมายที่เป็นอาชีพชั้นสูงเช่นเดียวกับอาชีพชั้นสูงอื่นๆ เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ทนายความ พยาบาล และอื่นๆ แต่ที่มีความต่างที่สำคัญก็เพราะมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ
      มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด (CIPD-Professional Standard: available
   มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
      

    ๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
       มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้   ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู  การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้  จิตวิทยาสำหรับครู   การวัดและประเมินผลการศึกษา   การบริหารจัดการในห้องเรียน    การวิจัยทางการศึกษานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา และ ความเป็นครู
        มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
     - การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
     - การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ


    ๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
     ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ   ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียนมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ   พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียนรายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน     ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์    ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์    แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
  ๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
1. จรรยาบรรณต่อตนเอง    2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ   3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ   5. จรรยาบรรณต่อสังคม
       พื้นฐานและแนวคิด     โดยพื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ มิใช่มีไว้เพื่อมุ่งในการควบคุมหรือกำกับผู้ประกอบวิชาชีเท่านั้น หากแต่ยังมีพื้นฐานของความคิดความเชื่ออีกบางประการคือ
      - เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
      - เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
     - เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
   - พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
   -  สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน
การนำไปประยุกต์ใช้
                 1.สามารถปฏิบัติงาน ปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพได้เต็มศักยภาพ
     2. จัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน
     3. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การแก้ปัญหาของนักเรียน 
     4. จัดการเรียนการสอน โดยมีการเชื่อมโยงสาระความรู้ด้านต่าง
     5. จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
      6. พัฒนากระบวนการเรียนการสอน ที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินการวิจัย เพื่อพัฒนาการ
เรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน แต่ละระดับการศึกษา
                       7. พัฒนาขีดความสามารถ ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อกาศึกษาของผู้เรียน
              

กิจกรรมที่ 5 สรุป "ต้นแบบแห่งการเรียนรู้"

ต้นแแบบแห่งการเรียนรู้
         ความรู้ที่ได้รับจาก "ต้นแบบแห่งการเรียนรู้"
  <  ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ  ต้นแบบสอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็นหากครูเป็นต้นแบบที่ดีก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดี ศิษย์ดีต่อเนื่องกันไปจุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ คือการได้รู้ ได้ดู ได้เห็นต้นแบบเกิดความศัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝัเรียนจะเอาอย่างต้นแบบจะต้องแยกแยะว่าดีหรือเลวได้ชัดเจน
  <  ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
นำมาพัฒนาตนเองในด้านทักษะการแยกแยะว่าต้นแบบที่ดีนั้นเป็นอย่างไรและคิดว่าในชีวิตประจำวันเราก็มีต้นแบบที่ดีและไม่ดี จะได้นำต้นแบบที่ดีมาใช้ การเรียนก็เอาแบบอย่างจากอาจารย์ที่ดี น่าเชื่อถือมาพัฒนาตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีไปด้วยในอนาคต

กิจกรรมที่ 4 สรุปภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง

         การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกยุคทุกสมัย ผลจากการเปลี่ยนแปลงก็ย่อมมีทั้งผลกระทบที่ดีและไม่ดีกับองค์กรต่าง ๆ ได้เป็นการเปิดโอกาศใหม่ๆ ให้กับองค์กรการเปลียนแปลงที่สำคัญน่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติ การรู้จักเปิดใจกว้างไม่ยึดติดอยู่กับความคิดหรือความรู้เดิมๆ ต่ต้องเปิดสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่มีอคติ การบริหารงานจะต้องทำอย่างมีระบบ
          ผู้นำที่แท้จริง   ต้องการจะเห็นทุกคนที่พร้อมก้าวเดินไปพร้อมกับเขา
 มีความสุข ต้องเป็นบุคคลที่คิดถึงตนเองเป็นคนสุดท้ายเสมอ เรายังคงพบคนประเภทนี้อยู่ในทุกยุคทุกสมัยเพียงแต่ในปัจจุบันอาจมีน้อย โดยทั่วไปจะเป็นผู้นำที่มาโดยตำแหน่งเป็นส่วยใหญ่ ผู้นำต้องเสียสละยิ่งเราเป็นผู้ให้ก็ยิ่งจะได้รับเป็นการสร้างความศัทธาให้เกิดขึ้น

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3 บุคคลสำคัญที่สนใจ

นายชวน  หลีกภัย
        นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีคนที่ 20 ของไทยเกิดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง บิดาชื่อนิยม มีอาชีพเป็นครู มารดาเป็นชาวสวนและค้าขาย ชื่อแม่ถ้วน นายชวน หลีกภัย เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 8 คน 
        วัยเด็กนายชวน หลีกภัย เรียนที่โรงเรียนวัดควนวิเศษ และต่อโรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ ก่อนย้ายไปโรงเรียนตรังวิทยา ได้รับรางวัลเรียนดี เรียงความดีเด่น และเก่งวาดเขียน  นายชวน หลีกภัย เข้ากรุงเทพฯ เรียนเตรียมศิลปากร ก่อนที่จะไปสมัคร เรียนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คู่กันไป พร้อมกับรับจ้างเขียนป้ายโฆษณาไปด้วย ท่านจบเตรียมศิลปากรปีที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2502 และ 3 ปีต่อมา จึงจบเนติบัณฑิตไทยรุ่นที่ 17 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
        พ.ศ. 2512 ลงเล่นการเมืองสมัครเป็น ส.ส. ซึ่งได้รับคะแนนถล่มทลายเป็นที่ 1 และการลงเลือกตั้งทุกครั้งนายชวน หลีกภัย จะได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 
        นายชวน หลีกภัย ก้าวสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกใน
  • ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม (พ.ศ.2518) 
  • รัฐมนตรีประจำนำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2519) 
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ.2522) 
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2524) 
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2526) 
  • รองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2533) 
  • และนายกรัฐมนตรี วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 
  • และเป็นนายกฯ คนที่ 2 ของจังหวัดตรัง
                                                   http://www.lib.ru.ac.th

กิจกรรมที่ 2 ทฤษฏีหลักการบริหารจัดการมีหลัก

ทฤษฏีหลักการบริหารจัดการมีหลักการดังนี้

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 1ความหมายของการบริหารจัดการในชั้นเรียน

ความหมายของการบริหารจัดการในชั้นเรียน คือ การเปลี่ยนแปลงตนเองเป็นครูผู้นำทั้งด้าน ICT , หลักสูตรสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับสถานศึกษาของตนเอง , และการจัดทำแผนที่อิงมาตรฐานการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข มีความรู้ควบคู่คุณธรรม (http://learners.in.th/blog/kruyui603/265127)

ความหมายของการบริหาร คือ การบริหาร  มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน “administatrae” หมายถึง ช่วยเหลือ  หรืออำนวยการ การบริหารมีความสัมพันธ์หรือมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “minister” ซึ่งหมายถึง การรับใช้หรือผู้รับใช้ หรือผู้รับใช้รัฐ (http://www.wiruch.com/)

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตนเอง

ชื่อนางสาวตะวัน มิ่งเมือง ชื่อเล่น วัน เป็นคนจังหวัดตรัง อ.ห้วยยอด ต.ลำภูรา อ.ห้วยยอด
จบ ชั้น ปวช.จากโรงเรียนสหตรังอาชีวะ
ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ ปี 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช คณะครุศาสตร์ เอกสังคมศึกษา
อนาคต อยากเป็นครูสอนสังคม
ปรัชญาประจำใจ ความล้มเหลว คือหนทางสุู่ความสำเร็จ