งานกินเจ จ.ตรัง

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13

The Healthy Classroom : ----------- โดย อาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์               แนวคิดของ Steven Hastings (2006) จากหนังสือที่ชื่อว่า
       
ในวันนี้ กล่าวถึงความสาคัญของ
"The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สาคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน 2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom เพราะในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียนซ้า เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทาให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้องเรียนที่ให้ความสาคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่อง “ความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน” เพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสาคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทาร้ายผู้อื่น/ทาลายสิ่งของ
        คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ

         1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
       2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า “มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง” แต่ไม่เคยถามว่า “หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก         กำลังกายไหม)
       3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้) 

       4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
       5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทาความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจาแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
       6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ “ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น” โดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
       7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา “การควบคุมอารมณ์”)
       8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
       9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
       

        การทบทวนคำถาม ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เรามองเห็นสภาพปัจจุบัน-ปัญหา ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่อง การพัฒนาเด็กแบบไม่สมดุล ที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ มากกว่าการพัฒนา ด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสาคัญ จากการศึกษาแนวคิด เรื่อง The Healthy Classroom Hasting(2006) ได้เขียนถึงปัญหา การบริโภคอาหารไร้คุณภาพ(Junk Food) ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาการทำร้ายร่างกายตนเอง ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน ยกเว้นเราจะมีการทบทวนสภาพปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า จะนำไปสู่การกาหนดยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่เป็นรูปธรรม ในโอกาสต่อไปได้อย่างแน่นอน ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน
          จากคำถามดังกล่าวให้สรุปและตอบลงในบล็อกของนักศึกษา

กิจกรรมที่ 12

กิจกรรมที่ 12

ระหว่างวันที่ 17-23 มกราคม 2554 หลักสูตรสังคมศึกษาได้จัดทัศนศึกษาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน สุโขทัย พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ซึ่งกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการบูรณาการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กิจกรรมทัศนศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้  ให้นักศึกษาเล่าบรรยากาศ การเดินทาง สิ่งที่พบและเกิดองค์ความรู้ใหม่ ลงในบล็อกของนักศึกษาและนำเสนอ    ผลงานของนักศึกษาเป็นรายบุคคล เป็นโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ให้นำมาใส่ลงบล็อกของนักศึกษา  และสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้ไปทัศนศึกษาให้นำเสนอว่าในช่วงเวลาดังกล่าว นักศึกษาทำกิจกรรมอะไร ได้องค์ความรู้อะไร สรุปเขียนลงในบล็อก และนำเสนอผลงานที่นักศึกษาได้ทำ ทำเป็น Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ลงในบล็อกของนักศึกษาเช่นกัน
      สรุปงานนักศึกษาจะมี 2 ชิ้น คือ
      1) สรุปเล่าเหตุการณ์การเดินทางและองค์ความรู้ที่พบลงนบล็อกของนักศึกษา 
      2) นำเสนอรูปภาพมีคำบรรยายประกอบรูปภาพ ลงในโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมอื่น ๆ
ในกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการศึกษานอกสถานที่ นักเรียนต้องออกแบบเก็บข้อมูลให้ละเอียดมากที่สุด

กิจกรรมที่ 10

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 10

ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
     เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 10
1)  กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
        
  1) คดีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทยซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เม จนกระทั่ง 2-3ปีที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารที่ด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ พิพาทกันอยู่
                      ดิฉันคิดว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นน่าจะมีการพูดคุยทำลงกันให้แน่นอนใช้แผนที่เดียวกัน ศึกษาความเป็นมาตั้งแต่อดีตว่าดินแดนส่วนนี้น่าจะเป็นของใคร หรือน่าจะมีการแบ่งเขตกันว่าส่วนใดเป็นของไทย ส่วนใดเป้นของกำพูชา
ผู้นำประเทศของทั้งสองฝ่ายต้องมีความสามารถที่จะตกลงกันได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาและไทยเราจะต้องแสดงความเห็นและหลักความเป็นจริงให้ได้เพื่อรักษาดินแดนส่วนนี้ไว้เพื่อบรรพบุรุษที่ต่อสู้รักษาไว้ให้เรา เราต้องเอาความยุติธรรมคืนมา

      2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัวเพราะพื้นที่ดังกล่าวมีผลประโยชน์แฝงอยู่อาทิ เช่น   ทะเลในอ่าวไทยมีก๊าซธรรมชาติอยู่ถ้าฝ่ายใดได้ก็จะมีอภิสิทธิ์เต็มที่   เกาะกรูดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น
                 ดิฉันคิดว่า  แน่นอนการเกิดปํญหาขึ้นก็มักจะเป็นเพราะผลประโยชน์ต่างฝ่ายต่างจะเอามาเป็นของประเทศตน แต่ทะเลในอ่าวไทยเป็นของคนไทยอยู่ในพื้นที่ไทยจังหวัดต่างบริเวณชายแดนก็อยู่ในไทยเราน่าจะมีการต่อสุ้เรียกร้องสิทธิของประเทศเราให้มากขึ้น มีความชัดเจนไม่ใช่เพียงแค่พูดแต่รัฐบาลต้องลงมือทำอย่างเต็มที่ ชัดเจน หาข้อตกลงเพื่อประเทศไทยของเราให้ได้ เพราะไม่ฉะนั้นเราจะไม่ได้รับสิทธิที่ควรจะเป็นของเราต้องเสียให้ชาติอื่นก็เป็นไปได้
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
ผลของMOU 43 ทำให้กรณีพิพาทนี้ยุ่งเข้าไปอีกทำให้หาข้อยุติไม่ได้ ซึ่งในปัจจุบันหากนำมาในจะทำให้พื้นที่พิพาทหรือพื้นที่ทับซ้อนตกเป็นของกัมพูชาซึ่งทำให้ไทยเสียเปรียบกัมพูชาเพราะ  MOU 43มีการจัดทำแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000
   4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) 
ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
   ดิฉันคิดว่า  เนื่องจากเราได้รู้แล้วว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ทับซ้อนยังมีปัญหากัน ไม่รู้แน่ชัดว่าเรานั้นลุกล้ำจริงมั้ยพื้นที่ดังกล่าวอาจจะเป็นของไทย  รัฐบาลจะต้องให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหานี้ให้ยุติลงได้โดยเร็วที่สุดเพื่อไม่ให้ชาติอื่นมาแย่งมาทำกับคนไทยเราอย่างนี้ได้อีกเพื่อชาติของเราเอง  อยากวอนรัฐบาลจัดการปัญหานี้ด่วน

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11 การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่ 11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้

1) การวิเคราะห์หลักสูตร  หมายถึง เป็นการพิจารณารายละเอียดของจุดมุ่งหมายและเนื้อหา แล้วพิจารณาความสัมพันธ์ทั้งจุดมุ่งหมายและเนื้อหาเพื่อนำมาวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการสอบ

               ดิฉันคิด เราจะต้องยึดหลักสูตรแกนกลางว่าในหลักสูตรต้องการอะไร จุดมุ่งหมายคืออะไรแล้วเอามาปรับใช้ในการเขียนแผนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร เนื้อหา และกับผู้เรียน

 
2) การวิเคราะห์ผู้เรียน หมายถึง เป็นการวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้ทราบว่า
ผู้เรียนมี ความพร้อมในการเรียนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้เพราะการที่
จะใช้สื่อให้ได้ผลดีย่อมจะต้องเลือกสื่อให้มีความสัมพันธ์กับ
ลักษณะผู้เรียน

             ดิฉันคิดว่า จะต้องคำนึงถึงลักษณะทั่วไป และลักษณะเฉพาะของผู้เรียนเพราะผู้เรียนนั้นแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะต่างกันออกไปว่าผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนแค่ไหน เราควรจะสอนอย่างไร
ใช้สื่ออะไร แต่ที่สำคัญนั้นเราจะต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการสอน ฉะนั้นการวิเคราะห์ผู้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน 

3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย   หมายถึง การจัดกิจกรรมโดยวิธีต่างๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไป การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน จึงต้องใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนใน หลากหลาย

           ดิฉันคิดว่า การจัดกิจกรรมต่างๆที่เข้ามาช่วยในการเรียนการสอนจะต้องสอกคล้องกับตัวผู้เรียน ครูจะต้องจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย ช่วงชั้น เน้นผู้เรียน เกิดประโยชน์ที่สุดสำหรับตัวผู้เรียน กิจกรรมต้องช่วยต่อยอด ให้เกิดการเรียนรู้ การคิดเพื่อนำไปใช้ได้

4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนรู้ของเด็กให้เกิดการคิด การวิเคราะห์ และการใช้ประโยชน์

         ดิฉันคิดว่าจะนำเอาสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับตัวผู้เรียน เพราะสื่อจะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้อีกทางซึ่งผู้เรียนก็จะเกิดการเรียนรู้ที่ไม่ใช่จะเฉพาะในหนังสือ สื่อจะทำให้เด็กมองโลกได้กว้างขึ้นแต่ก็ต้องอยู่ในขอบเขตที่จำกัดเช่นกัน ให้เด็กได้แสดงออกอย่างเต็มที่

5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ เป็นการประเมินผลผู้เรียนรอบด้านตามสภาพจริงของผู้เรียนในทุกด้าน

       ดิฉันคิดว่า จะเอามาใช้โดยครูจะต้องทำแบบประเมิน ตัววัดสภาพต่างๆ ในแต่ละด้าน เพื่อใช้วัดประเมินผู้เรียน โดยให้เพื่อนนักเรียนด้วยกันจับคู่กันประเมินด้านต่างๆที่ระบุให้คำตอบจะต้องตรงกับสภาพจริงของแต่ละคน

6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  หมายถึง การเอาผลทีได้มาปรับปรุงแก้ไข

        ดิฉันคิดว่า เมื่อได้ผลการประเมินมาแล้วเราก็จะรู้จุดเด่น จุดด้อย ของผู้เรียน เราก็นำเอาผลที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไขให้ดี สอดคล้องกับผู้เรียน ว่าควรจะเป็นไปแบบใด วิเคราะห์ผลแล้วนำไปใช้

 7)การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน     

        สำหรับดิฉัน จะจัดทำวิจัยหลังจากการที่ได้สังเกตุ ทดสอบ แล้วนำผลที่ได้ไปวิจัยดูว่าจะจัดทำ
นวัฒกรรมใหม่ๆ ให้เหมาะกับการเรียนรู้ของผู้เรียนยิ่งขึ้น เป็นการสร้างให้เด็กเกิดความรู้